Skip to content

Update News

  • Home
  • sport news
  • technology
  • travel & lifestyle
  • world news

Update News

news

อาหารสายยาง ข้อบ่งชี้ในการให้อาหารทางสายยาง

December 18, 2020 by admin

อาหารสายยาง ข้อบ่งชี้ในการให้อาหารทางสายยาง โดยมีรายละเอียดที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ข้อบ่งชี้ จุดประสงค์ ประเด็นทางจริยธรรม เทคนิค และภาวะแทรกซ้อน ดังนี้

ข้อบ่งชี้ในการให้อาหารทางสายยาง (Indications for enteral feeding) ได้แก่

– ผู้ป่วยรับประทานอาหารทางปากไม่ได้ 5-7 วัน และมีภาวะทุพโภชนาการ
– ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว (Unconscious patients)
– ผู้ป่วยมีปัญหาการกลืน (Swallowing disorders)
– ผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับลำไส้ล้มเหลวบางส่วน (Partial intestinal failure)
– ผู้ป่วยโรคทางจิตเวช เช่น anorexia nervosa
– ผู้ป่วยหลังผ่าตัดทางเดินอาหาร การใส่ Enteral tube feeding (ETF) ในกรณีนี้ไม่ใช่เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหาร แต่เพื่อระบาย gastric content ลดการติดเชื้อ และเชื่อว่าจะมีผลลดระยะเวลาพักฟื้น หรือลดระยะเวลานอนรักษาตัวในโรงพยาบาลได้
– ผู้ป่วย uncomplicated pancreatitis

จุดประสงค์ของการใส่สายยางให้อาหารและการให้อาหารทางสายยาง

เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ

ประเด็นทางจริยธรรม (Ethical issues)
การใส่และถอดสายยางให้อาหาร (ETF) ควรได้รับการคุ้มครองทางกฎหมายวิชาชีพโดยให้ผู้ป่วยเซ็นชื่อในเอกสารยินยอมก่อนเสมอ
กรณีนี้ในโรงพยาบาลที่พานักศึกษาขึ้นฝึกภาคปฏิบัติพบว่ายังไม่ได้ปฏิบัติ จึงควรศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองในประเทศไทย และกฎระเบียบของโรงพยาบาลต่อไป

เทคนิค

1. สายเล็ก ขนาด 5-8 French Nasogastric tubes (NG tubes) เหมาะสำหรับการ feed ให้อาหารทางสายยาง แต่บาง evidence แนะนำว่า ขนาดของสายและการวางตำแหน่งของสายเป็นสิ่งสำคัญ โดยแนะนำให้วัดจากเส้นผ่าศูนย์กลางภายนอก (The outer lumen tube diameters) เป็นหน่วย French (1 French unit = 0.33 mm) พบว่า
– สายใหญ่ ขนาดมากกว่า 14 French สะดวกให้อาหารและยาและยังสามารถวัด gastric pH และ residual volume ได้
– สายเล็ก ขนาด 5-12 French นิยมใส่ลงสู่กระเพาะอาหารหรือในลำไส้เล็ก เช่น gastrostomy jejunostomy Nasojejunal tubes (NJ tubes) สายขนาดเล็กสามารถลดความลำคาญของผู้ป่วยได้ แต่มีโอกาสเกิดการอุดตันได้ง่าย

2. แพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือพยาบาลควรเป็นผู้ใส่ NG tubes ที่ ward เมื่อใส่แล้วควรตรวจสอบตำแหน่งด้วยการทดสอบค่าความเป็นกรด-ด่างของ content (pH test) ทุกครั้ง ในกรณีที่ไม่มี content ควร X-ray (แต่ทำได้ยากในทางปฏิบัติ โดยเฉพาะการทดสอบค่าความเป็นกรด-ด่างของ content)

3. ตำแหน่งของ Nasojejunal tubes (NJ tubes) ควรได้รับการ confirmed โดยการ X-ray ภายในเวลา 8-12 ชั่วโมงหลังใส่ และควร test pH aspiration techniques ด้วย

4. ควรเปลี่ยน NG tubes และ NJ tubes ทุก 4-6 สัปดาห์

5. ในผู้ป่วยที่ไม่มีความเสี่ยงต่อการเกิด distal adhesions หรือ การยึดติดของ gastrostomy tubes ในการพยาบาลสามารถ removed โดยการตัด gastrostromy tubes และดันสายเข้าในกระเพาะอาหารได้ (ขณะนี้ ยังไม่ควรการสอนนักศึกษาทั้งภาคทฤษฎีและภาคภาคปฏิบัติ)

6. การให้อาหาร สำหรับการ feed ที่เหมาะสม

– ควรให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหาร 30 ml/kg/day of standard 1 kcal/ml
– ความถี่ในการ feed ควรพิจารณาให้เหมาะสม คือ อาหารจะไม่เหลือค้าง
– ระวังเรื่องการติดเชื้อ ในกรณีที่ผู้ป่วยต้อง on ETF กลับบ้าน ควรให้คำแนะนำเรื่องการให้อาหารและการดูแลอุปกรณ์ด้วย

Post navigation

Previous Post:

ศาลญี่ปุ่นสั่งประหารชีวิต ‘ฆาตกรทวิตเตอร์’สังหาร9ศพ

Next Post:

เหยื่อโควิดสหรัฐยังพุ่งไม่หยุด แคลิฟอร์เนียสั่งถุงใส่ศพเพิ่ม

Recent Posts

  • กลุ่มก่อการร้ายที่นับถือศาสนาอิสลามถูกตัดศีรษะ 12 คนในเมืองโมซัมบิก
  • แมนฯ ซิตี้ ต้องเสียเงิน 158 ล้านปอนด์ หากซิว 4 แชมป์
  • ผู้ถูกจับกุมมากกว่า 100 คนในการประท้วงใจกลางกรุงลอนดอน
  • แมนฯ ซิตี้ บุกรัว เลสเตอร์ ยึดฝูงยาวโกยหนี 17 แต้ม
  • ทรัมป์กล่าวว่า บริษัท ต่างๆที่เล่น ‘ปลุกยกเลิกวัฒนธรรม’ เกี่ยวกับร่างกฎหมายการเลือกตั้งของ Ga เรียกร้องให้คว่ำบาตร

Recent Comments

  • A WordPress Commenter on Hello world!

Archives

  • April 2021
  • March 2021
  • February 2021
  • January 2021
  • December 2020
  • November 2020
  • October 2020
  • September 2020
  • August 2020
  • July 2020
  • June 2020
  • May 2020
  • April 2020
  • February 2020
© 2021 Update News | WordPress Theme by Superbthemes